วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Chapter 11 Computer Security and Safety, Ethics, and Privacy




บทที่ 11 การรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์และความปลอดภัยจริยธรรมและความเป็นส่วนตัว

         Computer Security  คือ การรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เป็นสาขาของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าการรักษา ความปลอดภัยข้อมูลที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย วัตถุ ประสงค์ของการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์รวมถึงการปกป้องข้อมูลและ ทรัพย์สินจากการโจรกรรมความเสียหายหรือภัยธรรมชาติในขณะที่ให้ข้อมูลและ ทรัพย์สินยังคงสามารถเข้าถึงและประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้ไว้ใน คอมพิวเตอร์ ที่ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยระยะหมายถึงกระบวนการและกลไก collective โดยที่สำคัญและข้อมูลที่มีค่าและบริการได้รับความคุ้มครองจากสิ่งพิมพ์แก้ไข ดัดแปลงหรือยุบโดยกิจกรรมได้รับอนุญาตหรือบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจและกิจกรรม ตามลำดับโดยทันที กลยุทธ์ และวิธีการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์มักจะแตกต่างจากเทคโนโลยีอื่น ๆ มากที่สุดเพราะคอมพิวเตอร์ค่อนข้างยากจะอธิบายวัตถุประสงค์ของการป้องกัน

       
 


Chapter 7 Storage


บทที่ 7 แหล่งเก็บข้อมูล

        Storage คือ อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์หน่วยความจำแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำถาวร และ หน่วยความจำชั่วคราว
        
        Hard Disks หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของ บริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็น ของตนเอง

        Flash Memory Storage คือ หน่วยความจำขนาดเล็กประเภท non-volatiole ที่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้โดยที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ ข้อมูลไม่มีการสูญหายเมื่อปิดสวิตซ์ ซึ่งมีส่วนที่ใช้บันทึกข้อมูล เรียกว่า solid state chips ซึ่งใช้กระบวนการทางไฟฟ้าในการบันทึกข้อมูลและมีตัวควบคุมการอ่านและเขียนใน ตัวเอง หน่วยความจำสำรองแบบ solid state เป็นหน่วยความจำแบบ non-volatiole ที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์ Digital เช่น กล้องถ่ายภาพแบบดิจิตอล ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากและรวดเร็ว หรือในอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกและเคลื่อนย้ายข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว 

       Cloud Storang คือ หน่วยความจำที่ตั้งอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งเราสามารถเรียกใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งเราอยู่อีกที่หนึ่งแต่ข้อมูลอยู่อีกที่หนึ่ง ปัจจุบันก็มีหลายองค์กรที่เปิดบริการ Cloud Storang ไว้ให้ใช้บริการอย่างแพร่หลาย

Chapter 5 Input



บทที่ 5 อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า

        หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)  เป็นหน่วยทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
         - อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device)
         แป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นหน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้อนข้อมูลสำหรับเทอร์มินัล และไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายแป้นของเครื่องพิมพ์ดีด แต่มีจำนวนแป้นมากกว่า และถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน คือ
  • แป้นอักขระ (Character Keys) จะมีลักษณะการจัดวางตัวอักษรเหมือนแป้นเครื่องพิมพ์ดีด
  • แป้นควบคุม (Control Keys) เป็นแป้นที่มีหน้าที่สั่งการบางอย่างโดยใช้งานร่วมกับแป้นอื่น
  • แป้นฟังก์ชั่น (Function Keys) คือแป้นที่อยู่แถวบนสุด มีลักษณะเป็น F1, F2,…,F12  ซอฟต์แวร์แต่ละชนิดอาจกำหนดแป้นเหล่านี้ให้มีหน้าที่เฉพาะอย่างแตกต่างกัน ไป
  • แป้นตัวเลข (Numeric Keys) เป็นแป้นที่แยกจากแป้นอักขระมาอยู่ทางด้านขวา มีลักษณะคล้ายเครื่องคิดเลข ช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึกตัวเลขเข้าสู่ เครื่องคอมพิวเตอร์
         - อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Devices)
         เมาส์ (Mouse) เมาส์มีหลายขนาดลักษณะต่างกันออกไป แต่ที่นิยมใช้จะมีขนาดเท่าฝ่ามือโดยมีส่วนประกอบดังนี้ มีลูกกลมกลิ้งอยู่ด้านล่างหรือเป็นระบบแสง ส่วนด้านบนจะมีปุ่มให้กดจำนวนสอง สามหรือสี่ปุ่ม การเลื่อนเมาส์ให้ลูกกลมด้านล่างหมุน เพื่อเป็นการเลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง (Cursor) บนจอภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ
การควบคุม
  • การกดปุ่ม (Click)
  • กดปุ่มซ้อนสองครั้ง (Double Click)
  • กดปุ่มขวา (Right Click)
  • การลากแล้ววาง (Drag and Drop)
        ลูกกลมควบคุม (Track ball), แท่งชี้ควบคุม (Track Point), แผ่นรองสัมผัส (Touch pad)
อุปกรณ์ทั้งสามแบบนี้มักพบในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเพื่อทำหน้าที่แทน เมาส์ เนื่องจากสามารถติดไว้กับตัวเครื่องได้เลย ทำให้พกพาได้สะดวกกว่า และใช้เนื้อที่ในการทำงานน้อยกว่าเมาส์ อุปกรณ์ทั้งสามแบบจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ
ลูกกลมควบคุม  จะเป็นลูกบอลเล็ก ๆ ซึ่งอาจวางอยู่หน้าจอในเนื้อที่ของแป้นพิมพ์ หรือเป็นอุปกรณ์ต่างหากเช่นเดียวกับเมาส์  เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์           
แท่งชี้ควบคุม  จะเป็นแท่งพลาสติกเล็ก ๆ อยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ บังคับโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ เพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์
แผ่นรองสัมผัส  จะเป็นแผนสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์ สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับ เมาส์
        จอยสติก (Joy Stick)
จอยสติก จะเป็นก้านสำหรับใช้โยกขึ้นลง / ซ้ายขวา เพื่อย้ายตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์ แต่จะมีแป้นกดเพิ่มเติมมาจำนวนหนึ่งสำหรับสั่งงานพิเศษ  นิยมใช้กับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์
         - จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen)
         จอภาพระบบสัมผัส (Touch Screen)เป็นจอภาพแบบพิเศษซึ่งผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลงบนจอภาพในตำแหน่งที่กำหนดไว้ เพื่อเลือกการทำงานที่ต้องการแทนการใช้ Mouse หรือ Keyboard ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกใด และทำงานให้ตามนั้น หลักการนี้นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้อง การได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากในร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น
         - ระบบปากกาแสดง (Pen-Based System) 
         ปากกาแสง (Light pen) ใช้เซลล์แบบ Photoelectric ซึ่งมีความไวต่อแสงเป็นตัวกำหนดตำแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถใช้วาดลักษณะหรือรูปแบบของข้อมูลให้ปรากฏบนจอภาพ การใช้งานทำได้โดยการแตะปากกาแสงไปบนจอภาพตามตำแหน่งที่ต้องการ นิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ (Computer Aided Design หรือ CAD) รวมทั้งนิยมใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลโดยการเขียนด้วยมือ ในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น PDA เป็นต้น
         เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet) ประกอบด้วยกระดาษที่มี เส้นแบ่ง (Grid) ซึ่งสามารถใช้ปากกาเฉพาะที่เรียกว่า Stylus ชี้ไปบนกระดาษนั้น เพื่อส่งข้อมูลตำแหน่งเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ ปรากฏเป็นลายเส้นบนจอภาพ เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กับงานด้าน CAD เช่น ใช้ในการออกแบบรถยนต์รุ่นใหม่ ตึกอาคาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ และหุ่นยนต์ เป็นต้น
        อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ ระบบการวิเคราะห์แสง (Optical recognition systems) ซึ่งช่วยให้มีการพิมพ์ข้อมูลเข้าน้อยที่สุด อุปกรณ์ประเภทนี้จะอ่านข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย การใช้ลำแสงกวาดผ่านข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พิมพ์ไว้ เพื่อนำไปแยกแยะรูปแบบต่อไป ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ กันมาก โดยมีอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยม คือ
        เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition – MICR) ปัจจุบันมีจำนวนผู้นิยมใช้เช็คมากขึ้น จึงมีผู้คิดค้นวิธีการตรวจสอบเช็คให้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้ โดยได้คิดประดิษฐ์เครื่อง MICR  ขึ้นใช้ในธนาคารสำหรับตรวจสอบเช็ค เครื่องจะทำการเข้ารหัสธนาคาร รหัสสาขา เลขที่บัญชี และเลขที่เช็ค  ไว้ในเช็คทุกใบ จากนั้นจึงส่งเช็คให้ลูกค้า ตัวเลขที่เข้ารหัสไว้จะเรียกว่า เลขเอ็มไอซีอาร์ (MICR number) ในเช็คทุกใบจะมีเลข MICR  สีดำชัดเจนที่ด้านล่างซ้ายของเช็คเสมอ และหลังจากที่เช็คนั้นกลับมาสู่ธนาคารอีกครั้ง ก็จะทำการตรวจสอบจากเลข MICR  ว่าเป็นเช็คของลูกค้าคนนั้นจริงหรือไม่ เครื่อง MICR ไม่เป็นที่นิยมใช้กับงานประเภทอื่น เพราะชุดของตัวอักษรที่เก็บได้มีสัญลักษณ์เพียง 14 ตัวเท่านั้นข้อดีของเครื่อง MICR คือมีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องน้อย ทำให้มีเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดต่ำมากรหัส MICR ที่ใช้สามารถอ่านได้ทั้งคน และเครื่อง  MICRทำงานได้อย่างอัตโนมัติ รวดเร็วและเชื่อถือได้
         เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1970 โดยจะพิมพ์รหัสสินค้านั้น ๆ ออกมาในรูปของแถบสีดำและขาวต่อเนื่องกันไป เรียกว่า รหัสแท่ง (Bar Code)  จากนั้นจะสามารถใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดอ่านข้อมูลบนแถบ เพื่อเรียกข้อมูลของรายการสินค้านั้น เช่น ราคาสินค้า จำนวนที่เหลืออยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น ออกมาจากฐานข้อมูล แล้วจึงทำการประมวลผลข้อมูลรายการนั้นและทำงานต่อไปมาตรฐานของบาร์โค้ด ที่ใช้กันในปัจจุบันจะประกอบด้วยมาตรฐาน UPC (Universal Product Code) และ มาตรฐาน Code 39 (Three of Nine)
        สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือ สแกน (Scan) ข้อมูลบนเอกสารเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดย เอกสารที่อ่านอาจจะประกอบด้วยข้อความหรือรูปภาพกราฟิกก็ได้ เทคโนโลยีที่ใช้ในการสแกนแยกได้เป็น สองแบบ คือ
CCD (Charge Couple Device)  โดยเครื่องสแกนเนอร์จะส่องแสงผ่านฟิลเตอร์สีแดงเขียวและน้ำเงินไปยังวัตถุ ที่ต้องการสแกน แสงที่ส่องไปยังวัตถุจะถูกสะท้อนผ่านกระจกและเลนส์กลับมายัง CCD  ซึ่งเป็น เซลล์ไวแสงที่จะทำการตรวจสอบจับความเข้มข้นของแสงและแปลงให้อยู่ในรูปของ ข้อมูลทางดิจิตอล  เทคโนโลยีนี้มีข้อดีคือให้ความละเอียดและคุณภาพของภาพที่ดี
CIS (Contact Image Sensor)  เป็นเทคโนโลยีที่ใช้หลอด LED  สีแดง เขียวและน้ำเงินในการสร้างแสงสีขาวที่ใช้ในการสแกน และทำการรับแสงสะท้อนจากวัตถุที่ถูกสแกนโดยไม่ต้องผ่านกระจกและเลนส์ ทำให้สแกนเนอร์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และราคาถูก แต่คุณภาพในการสแกนจะด้อยกว่าแบบ CCD ความละเอียดในการสแกน  มีหน่วยเป็น จุดต่อนิ้ว (dot per inch)  หรือ ดีพีไอ (dpi) การวัดค่าความละเอียดในสแกนเนอร์กระทำได้ 2 แบบ คือ Optical Resolution ซึ่งเป็นค่าความละเอียดที่แท้จริงของสแกนเนอร์ที่ตัว CCD  สามารถกระทำได้ และ  Interpolate resolution จะเป็นความละเอียดที่เพิ่มสูงขึ้น โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการเพิ่มจุดให้แก่ภาพที่สแกนจำนวนบิตที่ใช้แทนค่าสี (Bit depth)
สแกนเนอร์สามารถแบ่งตามวิธีใช้งานได้เป็นแบบต่าง ๆ คือ
  • สแกนเนอร์มือถือ (Handhelp scanner)  มีขนาดเล็กสามารถพกพาได้สะดวก การใช้สแกนเนอร์รุ่นมือถือนี้ ผู้ใช้ต้องถือตัวสแกนกวาดไปบนภาพหรือวัตถุที่ต้องการ
  • สแกนเนอร์แบบสอดกระดาษ (Sheet-fed scanner)  เป็นสแกนเนอร์ที่ผู้ใช้ต้องสอดภาพหรือเอกสารเข้าไปยังช่องสำหรับอ่านข้อมูล (Scan head) เครื่องชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการอ่านเอกสารที่เป็นแผ่น ๆ แต่ไม่สามารถอ่านเอกสารที่เย็บเป็นเล่มได้
  • สแกนเนอร์แบบแท่น (Flatbed scanner)  เป็นสแกนเนอร์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ผู้ใช้เพียงวางกระดาษต้นฉบับที่ต้องการไปบนเครื่องสแกนเนอร์ มีวิธีการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร ทำให้ใช้งานได้ง่าย
        เครื่องรู้จำอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition – OCR) โอซีอาร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลที่เป็นตัวอักขระบนเอกสารต่าง ๆ และทำการแปลงข้อมูลแบบดิจิตอลที่อ่านได้ไปเป็นตัวอักษรโดยอัตโนมัติ โอซีอาร์อาจเป็นได้ทั้งอุปกรณ์เฉพาะสำหรับแปลงเอกสารเข้าสู่คอมพิวเตอร์ หรืออาจหมายถึงซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ตัวอักษรจากข้อมูลที่ได้จาก สแกนเนอร์ก็ได้
        เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Optical Mark Reader-OMR) โอเอ็มอาร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการอ่านสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายที่ระบายด้วยดินสอดำลงในตำแหน่งที่กำหนด ตัวอย่างเช่น ข้อสอบแบบเลือกคำตอบ เป็นต้น โดยดินสอดำที่ใช้นั้นต้องมี สารแม่เหล็ก (Magnetic particle)  จำนวนหนึ่ง เพื่อให้เครื่องโอเอ็มอาร์สามารถรับรู้ได้ ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้ดินสอ 2B จากนั้น เครื่องโอเอ็มอาร์ก็จะอ่านข้อมูลตามเครื่องหมายที่มีการระบายด้วยดินสอดำ
        กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับถ่ายภาพแบบไม่ต้องใช้ฟิล์ม โดยเก็บภาพที่ถ่ายไว้ในลักษณะดิจิตอลด้วยอุปกรณ์ CCD  (Charge Coupled Device) หรืออุปกรณ์ CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor) ภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก กล้องดิจิตอลในปัจจุบันจะมีความละเอียดของรูปที่ถ่ายในระดับ 1 ล้านจุด (Pixel) ไปจนถึง 5 ล้านจุด ซึ่งรูปที่ถ่ายมาจะสามารถนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้ทันทีโดย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์สแกนเนอร์อีก
        กล้องถ่ายทอดวิดีโอดิจิตอล (Digital Video) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหวและเก็บเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล นิยมใช้ในการทำการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ (Video Teleconference)  ซึ่งเป็นการประชุมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต เป็นต้น อย่างไรก็ดี กล้องถ่ายทอดวิดีโอแบบดีจิตอลยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยสามารถเก็บภาพเคลื่อนไหวได้ประมาณ 10-15 เฟรมต่อวินาทีเท่านั้น
        อุปกรณ์รู้จำเสียง (Voice Recognition Device) การสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปของเสียงเป็นอีกขั้นตอนของการพัฒนาทาง เทคโนโลยี ถึงแม้ในปัจจุบันนี้ยังมีปัญหาอยู่บ้างก็ตาม อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น
        อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Device) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาโดยนักคอมพิวเตอร์และนักภาษาศาสตร์  เพื่อใช้รับสัญญาณเสียงที่มนุษย์พูดและแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลเก็บเป็นข้อมูล ไว้ในคอมพิวเตอร์ ปัญหาที่สำคัญของอุปกรณ์ชนิดนี้คือผู้พูดแต่ละคนจะพูดด้วยน้ำเสียง และสำเนียงเฉพาะของแต่ละบุคคล จึงได้มีการแก้ปัญหาโดยให้คอมพิวเตอร์ได้เรียนรู้เสียงของผู้ที่ต้องการใช้ งานในระยะเวลาหนึ่งก่อน เพื่อเก็บรูปแบบของน้ำเสียงและสำเนียงไว้

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Chapter 4 The Components of the System Unit


 บทที่  4 ส่วนประกอบของระบบในอุปกรณ์


        ในบทนี้จะกล่าวถึง System Unit หรือที่พวกเราเรียกกันว่า Case ซึ่งภายใน System Unit จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกันไป

System Unit มีดังนี้

1. The Motherboard เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่าง Device ต่างๆ ภายใน System Unit ซึ่งในปัจจุบันเมนบอร์ดก็มีให้เลือกใช้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมของการใช้งานของแต่ละบุคคล

2. Processor หรือ Central Processing unit (CPU) คือหน่วยประมวนผลข้อมูลต่างๆ ภายใน System Unit ซึ่งเป็นตัวหลักของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ซึ่งความสามารถในการประมวนผลนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของ CPU และการใช้งานก็แตกต่างกันไป ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกใช้อยู่มากมาย

3. The Control Unit คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย


4. The Arithmetic logic Unit (ALU) เป็นวงจรเชิงผสมรูปแบบหนึ่งโดยออกแบบมา เพื่อให้ทำตัวเองเป็นวงจรที่ดำเนินการทางการคำนวณ (Arithmetic) และตรรกะ (Logic) ได้ โดยมีสัญญาณคำสั่ง (command) เป็นตัวควบคุม

5. Machine Cycle   วัฏจักรเครื่อง หมายถึง วงจรการทำงานของ Processor ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับเวลาที่ Processor ทำงาน โดยจะถูกควบคุมด้วยแผงวงจรเล็กๆ ที่ระบบ PC เรียกว่า Clock ซึ่งวัดหน่วยเป็นล้านรอบต่อวินาที (MHz) ทั้งนี้เวลาใน Machine Cycle ประกอบด้วย

        5.1 I-Time (Instruction Time) - เวลาทำคำสั่งเครื่อง fetch instruction หรือกระบวนการที่
              หน่วยควบคุมนำคำสั่ง (ภาษาเครื่อง) จาก RAM หรือ Cache Memory เข้าสู่ Register เพื่อ
              ประมวลผล decode instruction เป็นกระบวนการที่หน่วยควบคุมทำการแปลงรหัสคำสั่ง เพื่อ
              ส่งไป ALU เพื่อปฏิบัติกับข้อมูลต่อไป

       5.2 E-Time (Execution Time) - เวลากระทำการ execute instruction เป็นกระบวนการที่ ALU 
             ทำการคำนวณและเปรียบเทียบตามคำสั่ง place result in memory เป็นการนำผลลัพธ์ไปเก็บ
             ไว้ใน Address ของ RAM หรือไว้ใน Accumulator Register ก่อน 

6. Registers เป็นหน่วยความจำขนาดเล็ก ที่ทำงานได้เร็วมาก ในระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำเหล่านี้ ใช้เก็บข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวณ หรือสถานะการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง และมักถูกอ้างถึงบ่อย ในระหว่างการคำนวณของหน่วยประมวลผล เพื่อให้โปรแกรมที่ทำงานอยู่ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเหล่านี้ ได้อย่างรวดเร็ว

7. The System Clock ในคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานทุกอย่างเป็นแบบ สัญญาณนาฬิกา ระบบประสานงานในเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นโหลดข้อมูลก่อนที่จะจัดการกับมัน ฯลฯ ระบบสัญญาณนาฬิกาเป็นวงจรที่ปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องของกระแสอย่างแม่นยำสูงและต่ำ ที่มีความยาวทั้งหมดตรงเดียวกัน รอบเวลาหนึ่งเป็นเวลาที่ผ่านจากจุดเริ่มต้นของชีพจรสูงหนึ่งจนกระทั่งเริ่มของถัดไป หากกิจกรรมหลายควรจะเกิดขึ้นในรอบเวลาหนึ่งวงจรโดยมีการแบ่งใส่วงจรที่มีความล่าช้าที่รู้จักในนั้นจึงให้เสียงสูงมากและต่ำมาก

8. Processors Cooling หรือ ระบบความเย็น คือ ระบบที่ช่วยในการระบายความร้อนให้แก่อุปกรณ์ที่เมื่อทำงานแล้วทำให้เกิดความ ร้อนขึ้นในตัว ซึ่งเป็นการช่วยรักษาอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ไม่ให้เกิดความร้อนสูงเกินกว่าที่ อุปกรณ์นั้นจะสามารถทนได้ เมื่อคอมพิวเตอร์มีการทำงานหรือทำการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ หน่วยประมวลผลกลางจะทำงานและทำให้เกิดความร้อนขึ้น ถ้าหากไม่มีการระบายความร้อนออกจากตัวซีพียู จะทำให้เกิดการโอเวอร์ฮีต หรือ อาจทำให้ซีพียูไหม้ ได้ ดังนั้นระบบระบายความร้อน จึงมีความสำคัญต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบความเย็นของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีประกอบไปด้วย ระบบความเย็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบความเย็นของแหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ ระบบความเย็นของซีพียู

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Chapter 3 Application Software

บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์

        Application Software หรือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งสำหรับใช้งานสำหรับงานเฉพาะทาง ซึ่งแตกต่างกับซอฟต์แวร์ประเภทอื่น เช่น ระบบปฏิบัติการ ที่ใช้สำหรับรับรองการทำงานหลายด้าน โดยไม่จำเพาะเจาะจง

        Categories of Application Software 
1. Packaged software
2. Custum software
3. Web Application
4. Open source sofware
5. Shareware
6. Freeware
7. Public-domain software
     
Application Software รูปแบบต่างๆที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

        Business Software หรือ โปรแกรมที่ใช้ในธุรกิจ คือ โปรแกรมทีี่ใช้ในหน่วยงานเกี่ยวกับธุรกิจประเภท ต่างๆ ทั้งในสำนักงานและที่พักอาศัย ได้แก่
1. Word Processing Software ตัวอย่างโปรแกรม Microsoft Office Word 2007 เป็นต้น
2. Spreadsheet Software : Software ประเภทนี้จะประกอบไปด้วย Spreadsheet Organization,   
    Caculation, Recaculation, Charting ตัวอย่างโปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 เป็นต้น   
3. Database Software ตัวอย่างโปรแกรม Microsoft Office Access 2007 เป็นต้น
4. Presentation Software ตัวอย่างโปรแกรม Macromedia Flash 8, Microsoft Office PowerPoint 
    2007 เป็นต้น
5. Note Taking Software ตัวอย่างโปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007 เป็นต้น
6. Business Software Suite
7. Personal Information Manager Software
8. Business Software for Phones
9. Project Management Software
10. Accounting Software
11. Document Management Sofware ตัวอย่างโปรแกรม Adobe Reader เป็นต้น
12. Enterprise Computing Software
        
        Graphics and Multimedia Software คือ โปรแกรมเกี่ยวกับการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ สื่อต่างๆ แสง สี เสียง ที่เกี่ยวกับด้านความบันเทิงและความสวยงาม
1. Computer-Aided Design (CAD) Software ตัวอย่างโปรแกรม Auto CAD 2010 เป็นต้น
2. Desktop Publishing (DTP) Software
3. Paint/Image Editing Software ตัวอย่างโปรแกรม Adobe Photoshop CS4  เป็นต้น
4. Photo Editing Software ตัวอย่างโปรแกรม Adobe Photoshop CS4,  Picasa 3 เป็นต้น
5. Video and Audio Software ตัวอย่างโปรแกรม Movie Maker เป็นต้น  
6. Multimedia Authoring Software
7. Web Page Authoring Software ตัวอย่างโปรแกรม Macromedia Dreamweaver เป็นต้น

        Software for Home, Personal, and Educational Use คือ โปรแกรมที่ใช้เกี่ยวกับครอบครัว ส่วนบุคคล หรือสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้
1. Personal Finance software 
2. Legal Software ตัวอย่างโปรแกรม WillMaker  เป็นต้น
3. Tax Preparation Software ตัวอย่างโปรแกรม TaxACT เป็นต้น
4. Desktop Publishing Software ตัวอย่างโปรแกรม Microsoft Office Publisher 2007 เป็นต้น
5. Paint/Image Editing Software
6. Photo Editing and Photo Management Software 
7. Video and Audio Software
8. Travel and Mapping Software
9. Reference and Educational Software
10. Entertainment Software

        Web Applications คือ โปรแกรมอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เปิดใช้ผ่านทาง Internet โดยมีผู้ให้บริการแตกต่างกันไป เช่น https://docs.google.com เป็น URL ของ Web Applications บน Google


        Application Software for Communications คือ โปรแกรมอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร อาทิเช่น Web Browser, E-Mail, Chatroom เป็นต้น

       

Chapter 2 The Internet and World Wide Web

บทที่ 2 อินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ

         Internet หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Protocol ซึ่งผู้ใช้สามารถสื่อสารถึงกันและกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น E-mail เว็บบอร์ด และสามารถสืบหาข้อมูลและคัดลอกแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตมาใช้ได้
        
       World Wide Web คือ พื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนด URL คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต โดยจริงๆแล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต

        URL(Uniform Resource Locator Universal Resource Locator) หรือ Web Address คือ ตัวระบุตำแหน่งที่เราจะเข้าไปใช้งานผ่านบนอินเตอร์เน็ต เราอาจเรียกว่าที่อยู่บนเว็บ หรือที่อยู่อินเตอร์เน็ตก็ได้
ยกตัวอย่างเช่น  http://www.nps.gov/grsm/planyourvisit/wildlifeview.htm

        protocol คือ http://
        domain name คือ www.nps.gov/
        path คือ grsm/planyourvisit/
        Web page name คือ wildlifeview.htm

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Chapter 1 Introduction to Computers



        บทที่ 1 บทนำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

        ในบทนี้จะอธิบายเกี่ยวกับระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ การทำงาน การประมวณผลต่างๆ อย่างคร่าวๆและให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประวัน

        เนื้อหาที่กล่าวในบทนี้ ได้แก่

1. Information Processing Cycle (วงจรการประมวลผลข้อมูล)
2. Input Devices (อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า)
3. Output Devices (อุปกรณ์แสดงผล)
4. System Unit (อุปกรณ์ภายในเคส)
5. Storage Devices (อุปกรณ์เก็บข้อมูล)
6. Networks and the internet (เครือข่ายและอินเตอร์เน็ต)
7. Computer Software (ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์)
8. Categories of Computers (ประเภทของคอมพิวเตอร์)
9. Categories of User (ประเภทของผู้ใช้)

        ซึ่งเนื้อหาต่างๆเหล่านี้จะกล่าวอย่างละเอียดในบทต่อๆ ไป

Computer in Everyday Life


ยินดีต้อนรับ

Computer in Everyday Life

คลังความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน